วันอาทิตย์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

Trading Diary บางคนก็เรียก Trading Journal

Trading Diary  บางคนก็เรียก Trading Journal มันก็คือการจดบันทึกการเทรด

ที่มา : http://www.stock2morrow.com
  •  Trader เก่งๆที่ผมรู้จัก ผมสังเกตุว่านอกจากที่เขามีวินัยในการ Trade ที่เคร่งครัด "นั่นก็คือ ถ้าผิดทาง ไม่ว่ายังไง ต้อง Cut Loss ที่จุด Cut Loss เสมอ" ... และด้วยวิธีง่ายๆแค่นี้ มันก็ทำให้เขาเป็นเซียน!! มองแล้วก็เหมือนเซียน หรือ มืออาชีพในทุกสาขาอาชีพ คือ เขารู้ว่าเมื่อตรงนี้คืออาชีพ เขาต้องทำอย่างนี้ตลอดเวลา จึงไม่มีไม้ใด หรือ การ Trade ครั้งใดที่เรียกว่า "ครั้งนี้รวยแน่ เหมือนกับมือสมัครเล่นอย่างเราๆ"
  • ตลกมาก!! ที่จะพูดได้ ว่า "ไอ้ครั้งนี้รวยแน่ เกิดขึ้นกับความคิดเราทีไร ..ครั้งนั้นๆจะเจ็บหนักจริง (เข้าขั้นน้ำตาไหล ..บางคนเลิกเล่น ล้มหายไปจากตลาด) และนี่แหละครับ "การมีวินัยนี่เอง ที่แบ่งระหว่าง มืออาชีพ กับ มือสมัครเล่น"
  •  มีอีกเรื่องที่น่าสนใจสำหรับคนที่ต้องการ Trade หุ้นเก่ง คือ ต้องรู้จัก Keep Record "ใช่แล้วครับ ผมหมายถึงการทำ Trading Journal นั่นก็คือ ทุกครั้งที่เราตัดสินใจ Trade แต่ละไม้ ต้องบันทึกเอาไว้ เพื่อที่ภายหลังจะได้มาศึกษาว่า แต่ละไม้ที่เข้า Trade มีความถูกต้องหรือพลาดในจุดไหนนั่นเอง"... ข้อดีคือ มันจะช่วยให้ Logic ในการ Trade ของเราชัดเจนและแม่นขึ้นเรื่อยๆ
  • วิธีการทำก็คือ Capture หน้าจอ Trade ..ตรงส่วน Chart ที่ทำให้เราตัดสอนใจ ซื้อ หรือ ขาย ทุกครั้ง.. จากนั้น Print ออกมาลงกระดาษ แล้วก็เขียน Shot Note ลงไปว่า "ทำไมเห็น Chart นี้แล้ว ทำให้เราตัดสินใจซื้อหรือขาย... ด้วย Indicator อะไร หรือ มีข่าวอะไร ที่ทำให้เราตัดสินใจอย่างนั้น" .. ถ้าคุณ Keep ทำไปเรื่อยๆ คุณจะได้ ตำราการ Trade ชั้นดีเลย ... "เพิ่มความยุ่งยากให้ชีวิต แต่มันคุ้มครับ!!"
  • สำหรับคนที่ ไม่มี Printer ผมแนะนำอีกวิธีนึง คือ Capture หน้าจอ Trade โดยการ Print Screen แล้วก็ save ไว้ จากนั้นก็ Upload ภาพนั้นๆ ขึ้นไปบน Blog ส่วนตัว และก็เขียนบรรยายใต้ภาพนั้นๆ ถึงสาเหตุในการซื้อขายในครั้งนั้น... ทำเรื่อยๆ หรือจะเอามาแชร์ใน Facebook แลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนๆคนอื่น "ตรงนี้จะทำให้คุณเก่งขึ้นแน่นอน ตาม Concept ยิ่งให้ ยิ่งได้" ... ลองทำดูนะครับ ผมเชื่อว่าเป็นประโยชน์อย่างมหาศาล!!
ที่มา : http://www.meawbininvestor.com/trading-diary/ 
 Trading Diary  บางคนก็เรียก Trading Journal มันก็คือการจดบันทึกการเทรด การลงทุนของเรานี้แหละ ผมมักเห็น Trader เก่งๆหลายคนทำกันอย่างจริงจัง จดกันอย่างเอาเป็นเอาตายเลย  เพื่อที่ภายหลังจะได้มาศึกษาว่า แต่ละไม้ที่เข้า Trade มีความถูกต้องหรือพลาดในจุดไหน ควรแก้ไขอย่างไร แก้ที่ระบบ หรือแก้ที่วิธีคิด  ต่างกับ Trader ทั่วๆไป บางคนเอาแต่ Trade ไปวันๆ พอกำไรก็ว่าตัวเองเก่ง พอขาดทุนก็แกล้งลืมไปซะงั้น

ควรจดหรือบันทึกอะไรบ้าง

1.ซื้อหุ้นอะไร? (Stock) 
    ก็แน่นอนละสิเนอะ Trading Diary ก็ต้องใส่ชื่อหุ้นอยู่แล้วนะสิ
2.วันที่ตัดสินใจ ซื้อ-ขาย หุ้น (Buy Date – Sell Date)
    วัน เดือน ปี หรือถ้าเทรดเป็นรายวัน อาจใส่ช่วงเวลาที่ซื้อ ขายด้วย เผื่อวันที่ย้อนกลับมาดู
3.เหตุผลที่ตัดสินใจซื้อ-ขาย
   เช่น MACD ตัดขึ้น ,Pattern สวย,Vol มา,หรือห้องไลน์ห้องไหนบอกมาก็จดเอาไว้ เป็นหลักฐาน
4.ราคาที่ซื้อ-ขาย เท่าไหร่ (Buy Price – Sell Price) 
5.จุดตัดขาดทุน Cut Loss   Stop Loss
    ทุกครั้งที่เข้าซื้อ ควรจะต้องมี Stop Loss ในใจเสมออยู่แล้ว จดมันไว้ซะ จะได้ไม่ลืม
6.จำนวนหุ้นที่ซื้อ – ขาย (Buy Volume – Sell Volume) 
7.มูลค่าเงินลุงทุนที่เราซื้อ-ขายหุ้นตัวนั้น (Buy Value – Sell Value)
   คิดเป็นกี่% ของเงินทุนทั้งหมด
8.ผลกำไร ผลขาดทุน (Realized P/L)
   กำไรก็ต้องจด ขาดทุนยิ่งต้องจด ยิ่งเจ็บ ก็ยิ่งต้องจำ หลายคนที่เลือกจดเฉพาะกำไร แล้วหลอกตัวเองไปวันๆ
9.ระยะเวลาที่ถือหุ้น (Hold) 
   ถึงแม้จะได้กำไร 10-20% แต่ถ้าต้องถือหุ้นแบบข้ามปี ก็คงไม่คุ้มกับการรอคอย
10.อารมณ์ ความรู้สึก ณ ตอนที่ ซื้อ-ขาย
     สุดท้ายนี้สำคัญมาก ในวันที่เราย้อนกลับมาอ่าน วิเคราะห์ สิ่งที่เราได้ทำลงไปในอดีต อารมณ์ ความรู้สึก เป็นคนละเรื่องกับเหตุผล เช่น กลัว กล้า สงสัย สับสน กังวล และเป็นสิ่งเดียวที่คุณจะหาเรียนจากที่ไหนไม่ได้เลย บางครั้ง เหตุผลทุกอย่างบอกให้คุณขาย แต่หัวใจบอกให้คุณซื้อ เพราะอย่างนั้น จดมันซะ!!

หรือใคร Advanced หน่อยก็
เพิ่มเติมข้อมูลจำพวก Analysis ไปด้วยก็ได้เพื่อความง่ายในการวิเคราะห์ เช่น

  •  % Win/Loss 
    • คือ เทรดมาทั้งหมดกี่ครั้ง ชนะไปกี่ครั้ง ขาดทุนไปกี่ครั้ง (คิดเป็นเปอร์เซ็นต์)
  •  Avg. Win/Loss             
    • คือ ในการชนะแต่ละครั้ง  ขาดทุนแต่ละครั้ง มีค่าเฉลี่ยเท่าไหร่
  • Average Holding Days 
    • จำนวนวันเฉลี่ยในการถือหุ้น ค่านี้ทำให้เราทราบว่า ระบบของเรานั้นต้องใช้เวลาโดยเฉลี่ยกี่วัน? นับตั้งแต่วันที่ซื้อหุ้นแต่ละตัวและรอจนถึงวันขายหุ้นตัวนั้นทิ้ง ดังนั้นนักลงทุนที่ต้องการเล่นหุ้นระยะสั้น ควรจะเลือกระบบที่มีจำนวนวันเฉลี่ยของการถือหุ้นน้อยๆ เป็นต้น
  • CAGR (Annualized Return) 
    • อัตราการเติบโตโดยเฉลี่ยต่อปี หรือผลตอบแทนโดยเฉลี่ยต่อปีแบบทบต้น ของระบบในช่วงเวลาที่ผ่านมา (หรือจะเห็นภาพง่ายๆก็คือ ถ้าสมมุติเอาเงินไปฟากธนาคารมันคือ อัตราดอกเบี้ย นั่นเอง)
  • Consecutive Wins และ Consecutive Losses 
    • จำนวนครั้ง ที่ได้กำไร หรือ ขาดทุนต่อเนื่องกันสูงสุด เช่น เทรดแล้วได้กำไรติดต่อกัน 12 ครั้งติด หรือ เทรดแล้วได้ขาดทุนติดต่อกัน 15 ครั้งติด เป็นต้น แล้วมันบอกอะไรเราได้ ? … สมมุติว่าระบบนี้เคยขาดทุนต่อเนื่องสูงสุดมาแล้ว 15 ครั้ง และหากเรายอมรับกับค่าดังกล่าวได้ ดังนั้นเมื่อเราลงทุนด้วยระบบนี้แล้วดันเกิดเหตุกาณณ์การขาดทุนต่อเนื่องถึง 8 ครั้ง ก็ยังถือว่ายังอยู่ในเกณฑ์ที่เราสามารถยอมรับได้อยู่ เป็นต้น
  • Maximum Drawdown 
    • ระดับของการลดลงของเงินทุนจากจุดสูงสุด ที่เคยเกิดขึ้นมาตลอดระยะเวลาในการลงทุน” ซึ่ง มูลค่าสูงสุดของ Drawdown ที่เคยเกิดขึ้น เราจะเรียกมันว่า Maximum Drawdown
  • Longest Drawdown  
    • หรือ Maximum Drawdown Length เป็นระยะเวลาที่มากที่สุดในการทำจุดสูงสุดของ Portfolio ใหม่ หรือพูดง่ายๆก็คือระบบต้องใช้ระยะเวลามากที่สุดเท่าไหร่ในการทำจุดสูงสุของ Portfolioใหม่อีกครั้ง
  • Risk Of Ruin 
    • คือ % โอกาสที่จะทำให้เราหมดตัว หรือพูดง่ายๆว่า โอกาสเจ๊งนั่นเอง ซึ่งจะบอกถึงประสิทธิภาพของระบบการลงทุน

วันพุธที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2560

วันอังคารที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2560

บทเรียนต่อมาศึกษาการใช้งาน MetaStock and CDC


CDC #1การใช้โปรแกรม CDCDL และ MetaStock11 เบื้องต้น

CDC #2การใช้โปรแกรม MetaStock11 เบื้องต้น(2) การปรับแต่งกราฟ

CDC #3การใช้โปรแกรม MetaStock11 เบื้องต้น(3) Indicator Quick List 

CDC #4การใช้โปรแกรม MetaStock11 เบื้องต้น(4) Template 

CDC #5การใช้โปรแกรม MetaStock11 เบื้องต้น(5) Tools และ Basic Indicator 

CDC #6การใช้โปรแกรม MetaStock11 เบื้องต้น(6) Tools และ Basic Indicator Part2 

CDC #7การใช้โปรแกรม MetaStock11 เบื้องต้น(7) Creation of Custom Indicators การสร้างเครื่องมือ 

CDC #8การใช้โปรแกรม MetaStock11 เบื้องต้น(8) Creation of Custom Indicators การสร้างเครื่องมือ Part2

CDC #9การใช้โปรแกรม MetaStock11 เบื้องต้น(9) Creation of Custom Indicators & Expert Advisor Part3

CDC #10 การใช้โปรแกรม MetaStock11 เบื้องต้น(10) Trade List และ System Tester 

CDC #11 การใช้โปรแกรม MetaStock11 เบื้องต้น(11) Development System Trade 

CDC #12 การใช้โปรแกรม MetaStock15 เบื้องต้น(1) การใช้งานเริ่มต้น และการเปิดกราฟ 

CDC #13 การใช้โปรแกรม MetaStock15 เบื้องต้น(2) การสร้าง Custom list

CDC #14 การใช้โปรแกรม MetaStock15 เบื้องต้น(3) ฟังก์ชั่นใหม่ใน MetaStock15 

        

วันเสาร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2560

เริ่มศึกษาระบบเทรดหุ้น จากหัวข้อสัมมนา Swing Trading Part1

Stock Trading Styles


  • Position Trading
    • Buy and Hold 
    • Long Term 3Y, 5Y ตาม Trend หลัก
    • ซื้อแล้วถือยาวหลายปี ไม่สนใจจะขึ้นหรือจะลง
  • Swing Trading
    • บางคนเข้าใจผิดว่าเป็นการเทรดช่วง side way
    • ใช้ Chart End of Day
    • ถือหุ้นระยะประมาณ 1 สัปดาห์ - 3 เดือน
    • ข้อดีที่ไม่ต้องเอาเงินไปจมอยู่นาน ๆ กับหุ้นบางตัวที่ไม่สร้างกำไรให้
    • ไม่สนใจข้อมูล Fundamental
    • ไม่สนใจ intrinsic value of stocks
    • ใช้ความรู้ทาง technical analysis
    • มีเครื่องมือที่ใช้ในการค้นหาหุ้นที่จะลงทุน แม้จำนวนหุ้นเป็นพันตัวก็ใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที
  • Day Trading
    • มีการเปลี่ยนแปลงเร็วมากจนไม่มั่นใจว่าจะใช้ระบบไหน
    • อาจเหมือนนั่งเทียนเพราะไม่ค่อยมีข้อมูลช่วยสนับสนุน
    • ไม่แนะนำ, น้อยคนที่จะได้กำไรแบบยั่งยืน

นักลงทุนแบบ Swing Trading ที่ดีควรมีลักษณะอย่างไรบ้าง

  • วางแผนการเทรดที่ชัดเจนเสมอ และต้องมีวินัยในการเทรดด้วย
    • ก่อนเริ่มเทรดต้องกำหนดแผนให้ชัดเจน
    • เป้าหมายเท่าไร, Expect Return เท่าไร
    • เมื่อราคาถึงจุดนั้นแล้วทำไง ต้องเขียนให้ชัดเจน อย่าใจร้อนไปเทรดตามอารมณ์
    • ถ้ามัวแต่ฟังคนอื่นแนะนำให้ซื้อหุ้นตัวนั้นตัวนี้ แล้วเทรดตามเขา เทรดยังไงก็เจ๊ง
  • ต้องรู้เสมอว่ากำลังทำอะไรอยู่, เกิดอะไรขึ้นกับพอร์ตของเรา
    • บันทึกติดตามการเทรดอยู่เสมอ, ซื้อเท่าไร, ขายเท่าไร กำไรขาดทุนเท่าไร เพราะอะไร
    • ทำ Trade Journal เล่าเรื่องในแต่ละวันว่าเกิดอะไรขึ้น
    • มีเครื่องมือที่ดี (Trading Tools)
      • Data source 
      • Reliable hardware (Notebook, PC)
      • Reliable internet
      • Good analysis software (Metastock)
      • Good documentation software (Excel)
    • Always use stop loss
      • ตั้ง stop loss ตามระบบที่วางไว้เสมอ โดยไม่มีข้ออ้าง ว่าเดี๋ยวมันก็ขึ้น
      • มีจุด Take profit ที่ชัดเจน
    • Use careful position sizing
      • ใช้ position sizing เข้ามาช่วยให้ตัดสินใจง่าย ชัดเจน
      • มองภาพใหญ่, ภาพรวม
    • Have good emotional support
      • มีเพื่อนที่ดี, มีคนเข้าใจว่าเรากำลังทำอะไรอยู่, คุยกันรู้เรื่อง, คุยภาษาเดียวกัน,ให้กำลังใจ, แนะนำทางที่ดีได้
      • มีที่ปรึกษาที่จะทำให้เราอยู่ในระบบได้
      • อย่าไขว่เขว่เพราะคนอื่นที่ไม่รู้เรื่อง

CDC action zone

  • ระบบจะไม่มีการสวน Trend, ไม่มีการช้อนซื้อขณะขาลง
  • วิธีแก้ side way คือ stop loss ไปเถอะ ยอมเสียเงินไม่ต้องเสียเวลาแก้เพราะผลเทรดโดยรวมยังกำไร เอาเวลาไปทำ position sizing จะสามารถ improve ระบบให้สามารถทำกำไรเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิมอีกเยอะ 
  • คุณสามารถ double profit ได้จาก positon sizing
  • สัญญาณซื้อครั้งที่ 1 สำหรับมือใหม่ ใช้ไม่เกินครั้งที่ 2 ถ้าเป็นครั้งที่ 3 อาจจะเป็นสัญญาหลอก
  • Weekly chart อาจจะสามารถทำกำไรมากกว่า Daily chart แต่ไม่แนะนำให้ใช้ 1H, 15Min ถ้า 1 นาทีหรือ 5 นาที ต้องไปใช้ระบบอื่น
  • แนะนำให้สั่งซื้อเพียง 2 ครั้ง 
    • ซื้อครั้งแรกเมื่อ Action bar เปลี่ยนจากสีแดงเป็นสีเขียว
    • ซื้อครั้งที่สองเมื่อมีสัญญาณซื้อลูกศรชี้ขึ้นปรากฏ
  • ตั้ง Tp
    • ใช้หลักของ Fibo
    • First Target 61.5%
    • แล้วเปลี่ยน stop loss เป็น Trailing Stop
    • สามารถใช้ได้กับทุกตลาดและทุก Time frame (ยกเว้น chart 1 นาทีลุกไปฉี่ยังไม่ทัน)
  • ไม่ได้ซื้อที่ Low ไม่ได้ขายที่ High แต่ซื้อที่ Low ไปแล้ว และขายที่ High ไปแล้ว

นักลงทุนควรมี

  • Computer
  • MetaStock
  • CDC action zone
  • CDCDL

Dow theory

  1. The market has three movements
    • Cycle
    • Wave
    • Noise
  2. Market trends have three phases
    • Accumulation
    • Public Participation
    • Distribution
  3. The stock market discounts all news
    • Stock prices always incorporate all information
  4. Stock market averages must confirm each other
    • DJ Industrial and DJ Transport
  5. Trends are confirmed by volume
    • Momentum
  6. Trends exist until definitive signals prove that they have ended
    • Trend change signals

Learn the Basic Elliott Wave Pattern

Impulse Wave

Wave 1 
เป็นคลื่นลูกแรกหลังตลาดปรับฐานมาจากขาลงครั้งก่อนนั้น การปรับตัวขึ้นจะยังไม่แรงมาก เพราะนักลงทุน ที่ยังไม่แน่ใจว่าข่าวร้ายหมดไปแล้วจริงๆไหม คลื่นลูกนี้ปริมาณการซื้อขายจะยังเบาบาง แต่แรงขายก็มีไม่เยอะเช่นกัน
Wave 2 
เป็นการปรับฐานหลักจากนักลงทุนที่ลงทุนไปตั้งแต่คลื่นลูกที่ 1 ได้กำไรมาพอสมควร สาเหตุของการขายทำกำไรระยะสั้นนี้ เพราะนักลงทุนกลุ่มนี้ยังไม่มั่นใจว่าตลาดจะมีโอกาสปรับตัวขึ้นไปต่อหรือป่าว และอาจมีนักลงทุนที่ขาดทุนตั้งแต่รอบขาลงรอบที่แล้วขาผสมโรงด้วย เพราะเชื่อว่าเป็นแค่การรีบาวน์ระยะสั้นๆเท่านั้น
Wave 3 เซียนหุ้นหา Wave 3 ให้เจอแล้วเล่นเฉพาะ Wave นี้
ปริมาณการซื้อขายเพิ่มขึ้นอย่างมีนัย เมื่อเทียบกับลูกที่ 1 และลูกที่ 2 ตลาดมีความมั่นในมากขึ้น โดยปกติแล้ว คลื่นลูกที่ 3 นี้ จะเป็นคลื่นที่นักลงทุนรายย่อย (หรือใครหลายคนเรียกตัวเองว่าแมงเม่า) ได้กำไรมากที่สุด เพราะเป็นคลื่นที่กินระยะเวลานานกว่าคลื่นลูกที่ 1 และ ลูกที่ 5 อีกทั้ง ส่วนใหญ่ยังเป็นคลื่นที่มีความชันมากที่สุดอีกด้วย
Wave 4 
เมื่อพบจุดสูงสุดของคลื่นลูกที่ 3 ก็จะมีแรงขายออกมา ซึ่ง ณ คลื่นลูกที่ 4 นี้ ปัจจัยพื้นฐานของหุ้นหรือตลาด ได้มาถึงราคาที่เหมาะสมแล้ว หรือ อาจมีข่าวร้ายที่มีนัยสำคัญ กระทบต่อราคาหุ้น หรือปัจจัยตลาดอย่างรุนแรง แต่ด้วยภาวะตลาดที่เป็นขาขึ้น นักลงทุนยังมีความเชื่อมั่นสูง จึงทำให้ยังมีแรงซื้อกลับจากนักลงทุนอีกกลุ่ม ที่ยังเชื่อว่าตลาดไปต่อได้ หรือแรงซื้อหลายครั้ง ก็เกิดจากนักลงทุนพวกที่ตกรถในคลื่นลูกที่ 3 (ไม่รู้เพิ่งจะมามั่นใจอะไรตอนตลาดกำลังจะวาย) ทำให้เกิดคลื่นลูกถัดไป
Wave 5 เป็น Wave ของแมงเม่าเข้าซื้อ
วิ่งเพราะอารมณ์ตลาดล้วนๆ ในคลื่นลูกนี้ ข่าวดีจะมีเต็มหน้าหนังสือพิมพ์ กลบข่าวร้ายที่มีผลต่อตลาดหมด ส่วนใหญ่ Value Investors จะหาหุ้นลงทุนเมื่อตลาดอยู่ในคลื่นลูกที่ 5 ยากมาก หรือบางที อาจหาไม่เจอด้วยซ้ำ และเมื่อนั้น งานเลี้ยงก็เลิกรา

Corrective Wave

Wave a 
          คลื่นลูกนี้ นักลงทุนจะพร้อมใจกันขายออกมาในปริมาณมาก บ่อยครั้งเกิดจากข่าวร้ายที่กระทบกับปัจจัยพื้นฐานแบบฉับพลัน
Wave b 
         นักเก็งกำไรระยะสั้น และนักลงทุนบางกลุ่ม ยังเชื่อว่าปัจจัยนั้นไม่น่ากระทบกับราคาหุ้นมาก จึงทำการเข้าซื้ออีกครั้ง เกิดเป็น Wave b รีบาวน์ขึ้น จุดสังเกตก็คือ การรีบาวน์ของคลื่นลูกนี้ โดยปกติจะไม่สูงกว่าจุดสูงสุดของคลื่นลูกที่ 5
Wave c 
         เกิดจาก Panic Sell นักลงทุนหมดความหวังกับหุ้นตัวนี้ หรือภาวะตลาดในช่วงนั้น หลายๆครั้ง แรงขายในคลื่น b ทำให้หุ้นลงไปต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐานมาก เพราะนักลงทุนใช้อารมณ์และมีความกลัวเข้าครอบงำ ในปลายคลื่น c นี้ แรงขายจะลดลงเหลือเบาบาง สะท้อนว่า คนที่อยากขาย ได้ขายออกมาจนใกล้จะหมดแล้ว

การเคลื่อนไหวของราคามี 3 จังหวะ

  • Stages
  • Waves
  • Trends 
    • Uptrend, Downtrend, Side way
    • ขึ้นกับ Time frame เท่าไรที่นำมาใช้พิจารณา
    • หา Trend ให้เจอแล้วใช้มันในการเทรด
    • มี Trend เล็กแฝงอยู่ใน Trend ใหญ่
    • Rotate Sector
    • Trend line ไม่มีประโยชน์เพราะมันจบเป็นแล้วใช้บอกอนาคตไม่ได้

การใช้งาน Moving Average

  • ใช้ EMA9 และ EMA21
  • เป็นสัญญาณของการเปลี่ยน Trend
  • เมื่อเส้น EMA9 ตัดขึ้นไปอยู่เหนือ EMA21 เป็น Uptrend
  • เมื่อเส้น EMA9 ตัดลงมาอยู่ใต้ EMA21 เป็น Downtrend

วันพุธที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2560

ได้เวลาหวนคืนสังเวียนอีกครั้ง หลังจากได้อ่านหนังสือเล่มนี้


  • หายหน้าหายตาจากตลาดหุ้นไปนานเป็นสิบปี พร้อมกับประสบการณ์ที่ไม่ดีกับหุ้น
  • หลังจากได้อ่านหนังสือเล่มนี้ แล้ว มองเห็นแนวทางที่เป้าหมายจะบรรลุผล จึงได้เวลาหวนคืนสังเวียนอีกครั้งแล้ว....

วันอังคารที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ได้คำแนะนำจากเพื่อนที่เทรดหุ้น ผ่านทาง Line

 

 
  • เก็บ mtls นะกำลังย่อจะไปเหมือน sawad
  • เสียใจไม่เก็บถ้าเก็บ sawad มีหลักล้านแล้ว
  • Advace /การวิเคราะห์กราฟ /การตั้งค่า indicator /ดารสร้าง templte เป็นของตนเอง / การ block trade  / การsimulate เพื่อหาสัญญาณซื้อขาย / การวัดแนวรับต้านด้วยแท่งเทียน /การ scan หุ้นด้วยเงื่อนไขต่างๆ
  • บางวันทุน20000กำไร100 % , IPO
  • บางวันแอบเล่นรอบ, เสียหายก็มีเพราะcut lossเราใจร้อน
  • ลืมบอกแล้วดูvolumeป่ะ ถ้าแค่แนวรับ/ต้านแต่ไม่มีvolumeก็ไม่วิ่งนะ
  • Rsi50-70 ok
  • Volumeต้องมีแรงเหวี่ยงคือmomentumต้องมี ไม่งั้นมันไม่ขยับ
  • เล่นปันผลก็ok แต่พอxdแล้วราคาตกแถม้สียภาษี บางคนเก็บก่อนปันผล1เดือนไว้ขายเม่าทีารอปันผล ไม่เสียภาษีส่วนต่างราคาดีกว่า
  • มือใหม่ปูพื้นฐาน อ่าน "รวยหุ้นด้วยกราฟ" ให้เข้าใจก่อนครับ (หลายๆ รอบ) http://www.richerstock.net/richers/
  • ++ ขั้นที่ 1 : มองแนวโน้มให้ออกก่อน
    https://www.facebook.com/photo.php?fbid=101815839898461&set=a.101815789898466.3576.100002101358163&type=3&theater
  • ++ ขั้นที่ 2 : รู้แนวรับแนวต้าน
    https://www.facebook.com/photo.php?fbid=101817799898265&set=a.101817693231609.3579.100002101358163&type=3&theater
  • ++ ขั้นที่ 3 : ฝึกลากรูปแบบต่างๆ
    https://www.facebook.com/photo.php?fbid=101819226564789&set=a.101819169898128.3586.100002101358163&type=3&theater
  • ++ ขั้นที่ 4 : วัฎจักรของกราฟ
    https://www.facebook.com/photo.php?fbid=101820593231319&set=a.101820459897999.3587.1000021
  • ++ ขั้นที่ 5 : เครื่องมือช่วยยืนยัน
    https://www.facebook.com/photo.php?fbid=101822399897805&set=a.101822349897810.3591.100002101358163&type=3&theater
  • ++ บทพิเศษ : โจมตีด้วยกลยุทธ์ 1-2-3-4
    https://www.facebook.com/photo.php?fbid=101824519897593&set=a.101824446564267.3597.100002101358163&type=3&theater
  • นิพนธ์ สุวรรณประสิทธิ์ 23-2-58
    https://m.youtube.com/watch?v=VxkjCYAcM9U
  • รณกฤต สารินวงศ์ 23-2-58
    https://m.youtube.com/watch?v=K9TLL_EHXfs
  • เอกภาวิน สุนทราภิชาติ 23-2-58 On
    https://m.youtube.com/watch?v=tVV-ziN7w9M

วันเสาร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2557

จะเริ่มลงทุนในหุ้นอย่างไรในปี 2557

  • ในอดีตหลายปีที่ผ่านมาแล้วเคยเล่นหุ้นมาหลายรอบแล้ว แต่ละรอบก็มีแต่ขาดทุน จนต้องออกจากตลาดหลักทรัพย์ไปหลายต่อหลายครั้งแล้ว 
  • ทำไมถึงขาดทุนซ้ำแล้วซ้ำอีก
  • ทบทวนดูแล้วเป็นเพราะว่าตัวเองไม่มีหลักการในการเข้าซื้อขายหุ้น เทรดด้วยความโลภและความกลัว, ตอนยังไม่ซื้อก็ไม่อยากตกรถจึงรีบซื้อตามเพื่อน, พอจังหวะเราเข้าซื้อก็ติดดอย, พอราคาเริ่มลงจากดอยก็ยังไม่กล้า Cut Loss หวังว่าในไม่ช้าราคามันจะขึ้นใหม่, แต่เคราะห์ซ้ำกรรมซัดจนพอราคามันลงมาติดลบรวมเกือบ 50% เริ่มทนไม่ไหว ตัดใจขายทิ้ง, พอเราขายราคามันกลับวิ่งขึ้น ทำไมมันต้องเป็นยังงี้ทุกที รอให้โชคช่วยแต่โชคก็ไม่เคยเข้าข้างเราบ้าง 
  • การกลับมาครั้งนี้ถ้าขืนยังเล่นสไตล์เดิมอีก ก็จะมีแต่่ขาดทุนเหมือนเดิม อย่าเล่นซะเลยจะดีกว่า
  • ดังนั้นจึงต้องเปลี่ยนแปลงวิธีการของตัวเองใหม่ดังนี้
    • ทำบันทึกการลงทุน
      • ตารางเงินสด
      • ตารางพอร์ต
      • ตารางหุ้น
    • การซื้อขายหุ้นทุกครั้งต้องตอบต้วเองให้ได้ว่าซื้อ/ขายหุ้นตัวนั้นตอนนั้นเพราะอะไร
      • ตัวอย่างเช่นใช้กราฟค่าเงินบาท(ซึ่งช่วงนี้อ่อนค่ามาถึง 32-33 บาท) มาเทียบกับกราฟของกลุ่มฯ (Sector) พบว่ากลุ่ม Electronic มีลักษณะแนวโน้มคล้ายกับกราฟค่าเงินบาท เนื่องจากได้ประโยชน์จากค่าเงินบาทอ่อนตัวเพราะส่งสินค้าออกและรับเงินเป็นสกุล USD แล้วจึงเข้าไปดูกราฟหุ้นรายตัวพบว่า Delta, Hana มีแนวโน้มขึ้นแบบเดียวกันกับกราฟค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลง และมีหุ้นอีกตัวที่อยู่ในกลุ่มได้ประโยชน์จากค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลงคือ GFPT ซึ่งส่งออกและรับเงินเป็น USD เช่นกันไปดูกราฟราคาเทียบกับกราฟค่าเิงินบาทก็สอดคล้องกัน
      • MACD > 0 สัญญาณซื้อยืนยันมาแล้ว
      • ราคาวิ่งทะลุแนวต้านที่หนึ่งมาได้
      • ขายเพราะถึงแนวต้านที่แข็งแกร่ง (High เดิม) อะไรแบบนี้เป็นต้น
    • ศึกษาหาความรู้และประสบการณ์เพิ่มเติมอย่างสม่ำเสมอ
      • เข้ารับการอบรมสัมนาด้านเปิดโลกทัศน์ด้านการลงทุน เช่น www.bualuang.co.th/BualuangiChannel หรือถ้าเดินทางไม่สะดวกก็ยังสามารถเข้าไปดูถ่ายทอดสดผ่านทาง Online ได้ที่ www.facebook.com/bualuangsec
      • ศึกษาติดตามเว็บไซต์ดี ๆ เช่น maoinvestor.com
      • ดู TV Online วิเคราะห์หุ้นดี ๆ เช่น Money Channel